รัฐเคาะเเล้ว 4 มาตรการช่วยโควิ ด
เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวถึงการอนุมัติแผนงาน-โครงการและการเบิกจ่ายงบประมาณภายใต้พระราชกำหนด(พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน ไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท ว่า สำหรับการใช้จ่ายแผนงานตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท จำนวน 3 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ด้านสาธารณสุข วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท อนุมัติไปแล้ว 25,825 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 35% ซึ่งเป็นการเบิกจ่ายของโครงการที่อนุมัติไปครั้งแรก จากการอนุมัติทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่ง 2
ครั้งหลังอยู่ระหว่างจัดซื้อจัดจ้าง คงเหลือ 19,174 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติเข้ามาแล้ว
กลุ่มที่ 2 ด้านเยียวย า วงเงิน 5.5 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้โอนวงเงินกู้จากแผนงาน
กลุ่มที่ 3 ไปให้กับกลุ่มที่ 2 เพิ่มเติม ทำให้มีวงเงินเพิ่มขึ้นเป็น 6.85 แสนล้านบาท อนุมัติแล้ว 668,243 ล้านบาท ขณะนี้รัฐบาลเยียย าประชาชนแต่ละครั้ง 40 กว่าล้านคนในแต่ละรอบการเยียวยา ซึ่งจะเบิกจ่ายอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะเบิกจ่ายแล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด คงเหลือ 144,846 ล้านบาท ซึ่ง มติ ครม. วันที่ 5 พ.ค. 64 เห็นชอบมาตรการเยียวย า 4 โครงการ ดำเนินการในช่วง ก.ค.-ธ.ค. 64 ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาและจะเข้าสู่ ครม.ในสัปดาห์หน้า ได้แก่
1.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3
2.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นกรณีพิเศษ
3.โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3
และ 4.โครงการ ยิ่งใช้ยิ่งได้
กลุ่มที่ 3 ด้านฟื้นฟูเศรษฐกิจ จากวงเงิน 4 แสนล้านบาท คงเหลือ 2.7 แสนล้านบาท (โยกไปให้กลุ่มที่ 2) อนุมัติไปแล้ว 125,000 ล้านบาท คิดเป็นอนุมัติ 200 กว่าโครงการ ทั้งนี้โครงการระดับ
จังหวัดในพื้นที่ จำนวน 145 โครงการ อยู่ระหว่างเร่งรัดผูกพันโครงการในสัญญาและเบิกจ่ายได้ทันตามเวลาที่เหลืออยู่
พ.ร.ก.กู้เงิน วงเงิน 1 ล้านล้านบาท ได้มีแผนการใช้จ่ายครบถ้วนแล้ว ซึ่งการเบิกจ่ายคิดเป็น 79.88 % ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงาน 163,628 คน ฝึกอบรมทักษะเกษตรกรไปแล้วอย่างน้อย 9 หมื่น
ราย เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้อนุมัติโครงการไปแล้ว 817,000 ล้านบาท ช่วยพยุงเศรษฐกิจและส่งเสริมการขย ายตัวทางเศรษฐกิจ