คลังเผยเตรียมแจกเงินประชาชนรอบใหม่
ถือว่าเป็นข่าวดี สำหรับประชาชน ตอนนี้ จากประชาชนได้รับผลกระทบในระลอกที่ 4 ตอนนี้ ประชาชนได้รับผลกระทบจำนวนมาก
เพราะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไม่มีท่าทีว่าจะหยุดจบลงอย่างแน่นอน โดยตอนนี้ประชาชนลำบากกันอย่างมาก เะพราะไม่มีเงินจะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันแล้ว
โดยด้าน นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับการออกมาตรการเยียวย าผลกระทบเพิ่มเติมหลังรัฐบาลประกาศยกระดับมาตรการคุมเข้ม 14 วันจากนี้ไป
ทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการประชุมหารือเบื้องต้นไปเมื่อวันที่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงานเป็นประธานการประชุม
ขณะที่ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า ได้เตรียมมาตรการเยียวย าประชาชนเพิ่มเติม เพื่อรองรับการยกระดับมาตรการป้องกัน พื้นที่ 10 จังหวัดสีแดงเข้ม
โดยงบประมาณที่จะนำมาใช้ในการเยียว ยารอบนี้ จะมาจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพราะงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่เพียงพอต่อการเยียวย าประชาชนอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี ในส่วนที่ใช้งบประมาณจากประกันสังคมก็สามารถจ่ายเยียวย าได้เลย ไม่ต้องผ่านขั้นตอนคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
แต่ส่วนที่ต้องใช้เงินกู้ก็จะต้องผ่านคณะกรรมการดังกล่าว แล้วเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป โดยยืนยันว่าการดำเนินการออกมาตรการจะสามารถทำได้เร็ว
เพื่อเยียวยาช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที
“มาตรการเยียวย าประชาชน กำลังเร่งทำ ส่วนรูปแบบจะเป็นอย่างไรนั้น จะต้องรอมติจาก ครม.อนุมัติ โดยสภาพัฒน์จะเร่งเสน
อ ครม.ในสัปดาห์ถัดไป หลังจากที่ ศบค.ประกาศรายละเอียดมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งการประเมินความช่วยเหลือประชาชน รอบนี้จะใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่นั้น
จะต้องติดตามประกาศของ ศบค. ว่าสรุปแล้วจะกำหนดนานแค่ไหน ซึ่งสภาพัฒน์ก็ต้องเตรียมการเยียวยาเผื่อไว้ด้วย ว่าผลกระทบยาวแค่ไหน ก็จะทำให้สอดคล้องกัน”
นายดนุชากล่าวด้วยว่า ส่วนมาตรการช่วยเหลือการจ้างงานเอสเอ็มอีทั่วประเทศ ได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนตกผลึกแล้ว
แต่จะยังไม่เสนอ ครม.เร็ว ๆ นี้ เนื่องจากต้องโฟกัสในเรื่องที่สำคัญที่สุดขณะนี้ก่อน
ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการหารือเรื่องมาตรการมาเยียวย าประชาชนเพิ่มเติม เพื่อรองรับการประกาศล็อกดาวน์แล้ว
โดยคาดว่ามาตรการที่ออกมาจะเป็นรูปแบบเดิม เช่น การเพิ่มเงินในโครงการเราชนะ ม33 เรารักกัน ซึ่งสิ้นสุดโครงการเมื่อ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา
แต่หากมีโครงการใหม่ออกมา ลักษณะก็จะคล้ายคลึงรูปแบบเดิม แต่มีการปรับเปลี่ยนใหม่เล็กน้อย
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ขณะนี้ยังสรุปไม่ได้ว่างบประมาณจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท จะเพียงพอในการรับมือวิกฤตรอบนี้หรือไม่ อย่างไรก็ดี เครื่องมือที่รัฐใช้ออกมาดูแลประชาชนไม่เพียงแต่ใช้เงินในการออกมาตรการมาดูแลเท่านั้น
แต่ก็มีมาตรการอื่นที่ใช้ได้โดยไม่ใช่รูปแบบเงิน เช่น มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) การลดภาษี และการยกเว้นภาษี เป็นต้น