วันโอนเงิน 5,000 บาท

มาแล้วสำหรับวันโอนเงิน ช่วยเหลือ สำหรับผู้ที่อยู่ในมาตรา า 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 สำนักงานประกันสังคม

จากกรณีที่ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติมาตรการเยียวย าโควิด สำหรับผู้ประกันตน และ ผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบ ระลอกเดือนเมษายนในพื้นที่สีแดงเข้ม

โดยเมื่อวันอังคารที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา ครม.ได้อนุมัติเพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มเป็น 13 จังหวัด พร้อมกับเพิ่มวงเงินเพิ่มเติม

ก่อนหน้านี้ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ได้อนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินใช้ในมาตรการเยียวย าโควิด

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการ 9 กลุ่ม ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐจากคำสั่งล็อกดาวน์ ปิดสถานที่และกิจการ นอกจากนี้ ครม. ได้เพิ่มพื้นที่สีแดงเข้มอีก 3 จังหวัด รวมพื้นที่สีแดงเข้มจำนวน 13 จังหวัด

 

 

พื้นที่สีแดงเข้มทั้ง 13 จังหวัดมีดังนี้

กรุงเทพฯ
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี
สมุทรปราการ
สมุทรสาคร

นราธิวาส
ปัตตานี
ยะลา
สงขลา


ฉะเชิงเทรา
ชลบุรี
อยุธย า

โดยสำนักงานประกันสังคมเยียวย าผู้ประกันตนมาตรา 33,มาตรา39 และ มาตรา 40 เป็นเวลา 1 เดือน

 

เช็คสิทธิวันโอนเงินเยียวย า

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 โอนเงินให้ 9 กลุ่มอาชีพ ให้กับ 10 จังหวัดแรกก่อน คือ

กรุงเทพมหานคร
นครปฐม
นนทบุรี
ปทุมธานี

สมุทรปราการ
สมุทรสาคร
นราธิวาส
ปัตตานี


ยะลา
สงขลา
คาดเริ่มโอน 6 สิงหาคม 2564 ส่วน อีก 3 จังหวัด คือชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธย า จะได้รับเงินเยียวย า วันที่ 15 ส.ค.64 เป็นต้นไป โดยสำนักงานประกันสังคมโอนเงินเยียวย าโควิดผ่านพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชนเท่านั้น

 

รายละเอียดผู้ประกันตนสำหรับลูกจ้าง

ผู้ประกันตนมาตรา 33 รับเงิน 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) รัฐจ่ายสมทบอีก 2,500 บาทต่อคน รวมเป็น 10,000 บาทต่อคน
ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ ผู้ประกันตนมาตรา 40 รับเงิน 5,000 บาทต่อคน
อาชีพอิสระ (freelance) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายใน ก.ค. นี้ รับเงิน 5,000 บาท

นายจ้าง

นายจ้าง ม.33 รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
ผู้ประกอบการที่ไม่ได้เข้าประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ รับเงิน 3,000 บาทต่อลูกจ้าง 1 คน สูงสุดไม่เกิน 200 คน
ผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง และไม่ได้เข้าประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือ 5,000 บาท

สำหรับผู้ประกอบการในระบบ “ถุงเงิน” ที่ “ไม่มีลูกจ้าง”

1.ร้านอาหารและเครื่องดื่ม

2.ร้าน OTOP

3.ร้านค้าทั่วไป

4.ร้านค้าบริการ

5.กิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่)

ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 9 หมวดประเภทกิจการ ดังนี้

1.ก่อสร้าง

2.ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

3.ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ

4.กิจกรรมการบริการด้านอื่น ๆ

5.ขายส่งขายปลีกและซ่อมยานยนต์

6.ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

7.กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุนกิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์

8.กิจกรรมทางวิชาการ

9.ข้อมูลข่าวสารและสื่อสาร.

ที่มา: www.sso.go.th