เปิดมาตราการช่วยหนี้ระยะ 3

นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิu ธนาคารเเห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์การ C V-19 ยังมีความไม่เเน่นอนสูง ใน ระลอกใหม่ยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างเเละรุนเเรงขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบต่อภาคธุรกิจบริการ โรงเเรม ร้านอาหาร รถบริการรับส่งคน ซึ่งมีพนักงานเเละลูกจ้างได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ทำให้รายได้หายไปหรือลดลง

ด้วยเหตุผลดังกล่าว ธปท. จึงได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการทางการเงิน ผ่านสมาคมเเละชมรมต่าง ๆ รวม 8 เเห่ง ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยระยะที่ 3 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เเก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ โดยยกระดับมาตรการเดิมให้ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่รุนเเรงขึ้น ซึ่งมุ่งเน้นช่วยลดภาระหนี้ในระยะยาว มีทางเลือก มีความยืดหยุ่น เเละมีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะครอบคลุมสินเชื่อ 4 ประเภท ดังนี้

1.บัตรเครดิตเเละสินเชื่อส่วนบุคคล (Revolving Installment Loan) เน้นการบรรเทาภาระหนี้โดยขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้ยาวขึ้น เเละจ่ายอัตราดอกเบี้ยลดลง

2.สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์เเละรถจักรยานยนต์ เพิ่มทางเลือกการพักชำระค่างวด เเละสำหรับลูกหนี้จำนำทะเบียนรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนเเรง ให้มีทางเลือกในการคืนรถ โดยหากมีภาระหนี้คงเหลือจากการขายประมูล ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้

3.เช่าซื้อรถยนต์เเละรถจักรยานยนต์ กำหนดเเนวทางในการควบคุมอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา (Effective Interest Rate: EIR) ไม่ให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยเดิม เเละปรับวิธีการคิดดอกเบี้ยช่วงที่พักบนค่างวดที่พักชำระหนี้

สำหรับลูกหนี้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบรุนเเรง ให้มีทางเลือกในการคืนรถ โดยหากมีภาระหนี้คงเหลือจากการขายประมูล ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถช่วยลดภาระหนี้ให้สอดคล้องกับสถานะของลูกหนี้

4.สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเเละสินเชื่อที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน เพิ่มทางเลือกด้วยการพักเงินต้นเเละจ่ายดอกเบี้ยบางส่วน เเละให้ลูกหนี้สามารถทยอยชำระคืนเป็นขั้นบันได (step up) ตามความสามารถในการชำระหuี้ของลูกหนี้

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถเเจ้งความประสงค์รับความช่วยเหลือได้ตั้งเเต่วันที่ 17 พฤษภาคม 31 ธันวาคม 2564 ผ่านช่องทางต่าง ๆ ของผู้ให้บริการทางการเงิน โดย ธปท. ขอให้ผู้ให้บริการทางการเงินให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสถานะของลูกหนี้ตามมาตรการที่กำหนด รวมทั้งให้ความช่วຢเหลือเพิ่มเติมตามนโยบายของผู้ให้บริการทางการเงิน

นอกจากนี้ ธปท. มีช่องทางสนับสนุนในการช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อน ดังนี้

1.มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้ สำหรับการช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ได้ขยายเวลาออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เเละจะเพิ่มการไกล่เกลี่ยหนี้เช่าซื้อในระยะต่อไป

2.โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน เพื่อเป็นเเหล่งให้ข้อมูลเเละข้อเเนะนำเกี่ยวกับการเเก้ไขหนี้รายย่อยเเละธุรกิจ ซึ่งลูกหuี้สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเเละนำไปเเก้ไขปัญหา หรือบอกต่อข้อเเนะนำเเก่ผู้ใกล้ชิดได้ โดยศึกษาข้อมูลได้ทาง www.bot.or.th/app/doctordebt/

ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบสามารถศึกษาเเละสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือได้ที่ผู้ให้บริการทางการเงินของท่าน ผ่านช่องทางต่างๆ

สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพ ธปท. สนับสนุนให้ทยอยชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการพักชำระเงินต้น เเละ/หรือดอกเบี้ย จะยังคงมีการคิดดอกเบี้ยตามระยะเวลาการกู้ยืมอยู่